อาหารประจำประเทศ

 

อาหารประจำประเทศ

ขนมปาฟลอฟว่า (Pavlova)

 

 

ชาติฝรั่งมีของหวานประเภทหนึ่ง เรียกกันว่า เมอแรงก์ ( meringue ) ซึ่งเกิดจากการเอาไข่ขาวมาตีกับน้ำตาลแล้วนำไปอบ และของหวานประเภทนี้ ก็มีอยู่ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ปาฟลอฟว่า หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า ปาฟ แต่โดยทั่วไป ส่วนมากก็มักจะจัดของหวานรายการนี้อยู่ในประเภทเค้ก อาจจะเป็นเพราะการที่มันมีการตกแต่งหน้าเหมือนกับเค้กนั่นเอง

ชื่อปาฟลอฟว่านี้ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติกับนักเต้นบัลเล่ต์ระดับตำนานชาวรัสเซีย อย่าง อันนา ปาฟลอฟว่า ( ตามจริงในภาษารัสเซียออกเสียงว่า ปาฟลาว่า ) ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อตอนอายุ 50 ปี ตั้งแต่เมื่อต้นปี 1931 แล้ว

ขนมนี้ ปัจจุบันเป็นขนมยอดนิยม และมีบทบาทสำคัญในอาหารประจำชาติของทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยส่วนมาก คนในทั้งสองประเทศ มักจะทำกันในช่วงการฉลองโอกาสพิเศษ หรือไม่ก็เป็นอาหารในช่วงเทศกาลวันหยุด อย่างเทศกาลคริสต์มาส

เชื่อกันว่า ขนมนี้ถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นเกียรติกับการเดินทางมาเปิดการแสดงของอันนา ปาฟลาว่า แถวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในยุค 20 แต่ปัจจุบัน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่า ชาติไหนที่เป็นเจ้าของสูตรขนมชื่อนักบัลเล่ต์ชื่อดังรายนี้ ระหว่างออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ แต่หลักฐานที่พอจะมีอยู่ ชี้ออกมาทางนิวซีแลนด์มากกว่า

ฝ่ายนิวซีแลนด์บอกว่าหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบ ก็คือการตีพิมพ์สูตรขนมที่ว่านี้ในนิตยสารระดับท้องถิ่นของนิวซีแลนด์ในปี 1929 และก็มีการอ้างว่า ผู้รังสรรค์สูตรขนมนี้ขึ้นมา ก็คือพ่อครัวชาวนิวซีแลนด์ของโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเวลลิงตัน ตอนที่ปาฟลอฟว่า มาเปิดการแสดงที่นี่ในปี 1926

ในส่วนของฝ่ายออสเตรเลีย เอกสารเก่าแก่ที่สุดบอกว่าผู้ที่ทำขนมนี้ คือนาย Bert Sachse แห่งโรงแรม Esplanade ในเมืองเพิร์ธ ของออสเตรเลีย ที่ทำไว้เมื่อปี 1935 ซึ่งก็ถือว่าตามหลังของนิวซีแลนด์อยู่หลายปี  แต่ทางญาติของนาย Sachse ก็บอกว่าตัวเลข 1935 อาจจะเป็นตัวเลขที่ผิดพลาดก็ได้ เพราะตามจริงมันน่าจะเก่าแก่กว่านั้น

ส่วนวิธีการเตรียมขนมประเภทนี้แบบคร่าวๆ ก็คือ การตีไข่ขาวจนขาวข้น ก่อนจะเติมน้ำตาล และส่วนผสมอื่นๆอย่างแป้งข้าวโพด จากนั้นก็นำไปอบ ซึ่งจะทำให้ด้านนอกของขนมกรอบ ส่วนด้านในจะนุ่ม ซึ่งความนุ่มข้นนี้ ขนมปาฟลอฟว่า จะแตกต่างจากขนม เมอแรงก์แบบอื่นๆ

ตามธรรมเนียมแล้ว ขนมนี้มักประดับประดาด้วยวิปครีม และผลไม้อื่นๆเช่นกล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี่ ลูกกีวี และอื่นๆ ทำให้มันดูคล้ายขนมเค้ก  (แต่ลองถามน้องที่ทำงาน ที่เขาเคยกินชนมเมอแรงก์ บอกว่าขนมเมอแรงก์ ไม่มีการแต่งหน้า )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์
หน้าแรก
บรรณานุกรม

 

Free Web Hosting